OFFICE HEALTH
Office Syndrome
Total check the risk of disease that threaten you.
6 โรคฮิตมนุษย์ออฟฟิต
Obesity
โรคอ้วน
Obesity – โรคอ้วน
สาเหตุที่พบบ่อยก็คือ กินอาหารเกินความจำเป็นของร่างกาย ทั้งประเภทแป้ง ไขมัน และอาหารใยอาหารต่ำ รวมถึงปริมาณอาหารไม่สมดุลกับการออกกำลังกาย ขาดการเคลื่อนไหวร่างกายจากสภาพการทำงานหรือพฤติกรรม
นอกจากนั้น อีกสาเหตุที่พบแต่เป็นส่วนน้อย คือ
- ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายสะสมไขมันได้สูง โรคเกี่ยวกับฮอร์โมน โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง โรคต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง เป็นต้น
- การกินยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงกระตุ้นให้อยากอาหาร เช่น ยากันชัก ยารักษาโรคทางจิตเวช การผ่อนคลายความเครียดด้วยการกิน คนท้องซึ่งกินมากในช่วงตั้งครรภ์ และเมื่อคลอดแล้วไม่สามารถลดน้ำหนักได้
- ผู้สูงอายุ เพราะเคลื่อนไหวได้ช้าหรือมีโรคประจำตัวซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหว
- การอดนอน หรือ นอนวันละ 5 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า เพราะขณะนอนหลับร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเลปตินเพื่อลดการอยากอาหาร และฮอร์โมนอินซูลินเพื่อกระตุ้นการใช้พลังงานของร่างกาย
ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วน
- กินอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง ค่อยๆ ทยอยลด ไม่กินจุบจิบ และเมื่อมีกิจกรรมต่างๆ เช่น งานเลี้ยง ท่องเที่ยว ก็ควรจำกัดอาหาร
- จำกัดอาหารจำพวกแป้ง ของหวาน และไขมัน เพิ่มผัก ผลไม้ในแต่ละมื้อ
- ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เคลื่อนไหว/เคลื่อนไหวน้อย พยายามเคลื่อนไหวให้มากขึ้น
- พยายามให้ร่างกายได้ใช้พลังงาน เช่น ลงรถเมล์ก่อน 1 ป้าย ใช้ลิฟต์เฉพาะตอนจำเป็น
- พยายามออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที
- ชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์
- การควบคุมน้ำหนักต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะเรื่องอาหาร เช่น ไม่ซื้อขนมเข้าบ้าน เป็นต้น
- ไม่ซื้อยาลดความอ้วนกินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะยามีผลข้างเคียงหลายอย่างที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ เช่น ขาดอาหาร การรับรสชาติผิดเพี้ยน ท้องผูก นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน ใจสั่น หงุดหงิดง่าย เป็นต้น
ที่มา : haamor.com/th
Migraine
ไมเกรน
Migraine – ไมเกรน
- ภาวะเครียด
- อดหลับอดนอน
- ทำงานมากเกินไป ร่างกายไม่ได้พักผ่อน
- ช่วงขณะที่มีประจำเดือน หรือรับประทานยาคุมกำเนิด
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- รับประทานอาหารบางชนิด เช่น กล้วยหอม เนยแข็ง และช็อกโกแลต
อาการของโรคไมเกรน
อาการนำ
- ไมเกรนแบบคลาสสิก มีอาการนำแบบออร่า โดยก่อนปวดศีรษะ อาการออร่าจะเป็นนาน 5-20 นาที แต่ไม่เกิน 60 นาที แล้วจะเว้นระยะไปพักหนึ่งก่อนจะปวดศีรษะ ซึ่งอาการออร่าแบ่งได้เป็น อาการทางตา (การเห็นแสงสว่างเกิดขึ้นเป็นจุดๆ โดยมีขอบแสงแบบซิกแซก) ประสาทความรู้สึก (มีความผิดปกติที่ผิวหนัง เช่น ชา แสบร้อน)และประสาทสั่งการ (รู้สึกหนักแขน ขา เหมือนไม่มีแรง) หรือเป็นหลายๆอาการร่วมกัน
- ไมเกรนแบบพบบ่อย ไม่มีอาการนำแบบออร่า แต่มีอาการนำแบบอื่นๆ หรือไม่มีเลย เช่น รู้สึกไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่นมากกว่าปกติ รู้สึกเพลีย หาวบ่อย หิวบ่อย กินจุ ท้องผูกหรือท้องเสีย
อาการปวดศีรษะ
เกิดตามหลังอาการนำ มักจะเกิดในช่วงที่ตื่นอยู่ จะมีอาการปวดหัวข้างเดียว แต่ละครั้งที่ปวดสามารถย้ายไปข้างได้ ลักษณะปวดแบบตุ๊บๆ ความรุนแรงปานกลางจนถึงมาก บริเวณที่ปวดก็จะเป็นตรงขมับ ศีรษะด้านหน้า และรอบลูกตา ต่อมาจะลามไปศีรษะด้านหลัง หรือทั้งศีรษะ การนอนหลับทำให้อาการปวดดีขึ้น
อาการอื่นๆ
ที่อาจพบร่วมกับอาการปวดศีรษะ คือ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตากลัวแสง กลัวเสียง เป็นต้น หลังอาการปวดศีรษะคนส่วนใหญ่จะมีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนล้า หรือในทางตรงข้ามอาจรู้สึกสดชื่น
ที่มา : haamor.com/th , www.thonburihospital.com
Back Pain
ปวดหลังจากการทำงาน
Back Pain – ปวดหลังจากการทำงาน
นั่งท่าไม่ถูกต้องเป็นเวลานานๆ เพราะการนั่งจะทำให้ ส่วนโค้งของหลังน้อยลงหรือกลับทิศ (Reverse Lordotic Curve) การโค้งกลับทิศในลักษณะนี้ร่วมกับแรงกดรับจากน้ำหนักส่วนบนจะทำให้หมอนรองกระดูกมีโอกาสปลิ้นออกทางด้านหลังได้ง่าย ซึ่งการนั่งนานๆ จะทำให้แรงกดที่หมอนรองกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ สะสมจนกระทั่งมีค่ามาก
การป้องกันไม่ให้ปวดหลังจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน
- เลือกขนาดของโต๊ะ เก้าอี้ให้พอดีกับสรีระร่างกาย
- ไม่ควรใช้เก้าอี้สปริงที่เอนได้ เพราะไม่รองรับหลังเท่าที่ควร ควรเลือกเก้าอี้ที่เอนและมีความสูงของเก้าอี้และโต๊ะได้ระดับ และควรมีหมอนหนุนหลัง
- คอมพิวเตอร์ที่ใช้ต้องปรับจอให้อยู่ในระดับสายตา
- เมาส์ควรเป็นแทรกกิ้งบอล หรือเมาส์ไร้สาย ที่นำมาใช้ใกล้ตัวได้ถนัด ไม่ต้องยื่นแขน
- อย่านั่งนานเกิน 2 ชั่วโมง ให้เปลี่ยนอริยาบทหรือลุกเดินบ่อยๆ
- ควรนั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น
- ถ้าจำเป็นต้องนั่งนาน ให้เอนหลังพิงพนักสัก 5 วินาที เพื่อลดแรงกดที่หมอนรองกระดูก
- ควรบริหารร่างกายอยู่เสมอ ท่าง่ายๆ นอกจากการเดินไปมาคือ การนวดต้นคอ ยึดกล้ามเนื้อคอเอียงซ้าย-ขวา ก้มหน้าเงยหน้า โดยค้างไว้ 10 วินาที ต่อด้วย การยึดกล้ามเนื้อหลังโดยการก้มตัว ก้มหน้าอกประชิดหัวเข่า ควรทำช้าๆ และค้างไว้ 10 วินาทีเช่นกัน เพื่อให้กล้ามเนื้อหรือเสนเอ็นยืดตัว
ที่มา :
www.doctor.or.th
, department.utcc.ac.th
Macular Degeneration
โรคจอประสาทตาเสื่อม
Macular Degeneration – โรคจอประสาทตาเสื่อม
อาการและอาการแสดง โรคจอประสาทตาเสื่อม อาจแสดงอาการแตกต่างกันในแต่ละคน และยากต่อการสังเกตความผิดปกติ โดยเฉพาะถ้าตาอีกข้างยังมองเห็นได้ดีอาจไม่สังเกตความผิดปกติได้ แต่ถ้าจอประสาทตาเสื่อมทั้งสองข้าง อาจรู้สึกถึงความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว เช่น มองภาพตรงกลางไม่ชัด ส่วนของกลางภาพที่มองหายไป มืดดำ หรือภาพดูบิดเบี้ยว
สิ่งตรวจพบ บุคคลทั่วไปอายุระหว่าง 40-64 ปี ที่ไม่มีอาการผิดปกติในการมองเห็นควรได้รับการตรวจสุขภาพตา(รวมทั้งตรวจจอประสาทตา)ทุก 2-4 ปี สำหรับคนที่อายุ 65 ปีขึ้นไป แนะนำให้ตรวจทุก 1-2 ปี เนื่องจากความผิดปกติของโรคจอประสาทตาเสื่อมในระยะแรกนั้นสังเกตได้ยาก การตรวจพบตั้งแต่แรกเริ่มเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจอประสาทที่เสื่อมไปแล้วจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ การรักษาทำได้เพียงหยุดหรือชะลอการเสื่อมให้ช้าที่สุด หรืออาจรักษาไม่ได้เลยหากเป็นรุนแรง
การใช้แผ่น Amsler grid ถ้าคนไข้มองเห็นภาพที่ Amsler grid ผิดปกติไป จะต้องพบจักษุแพทย์ เพื่อรับการตรวจจอประสาทตาทันที
การรักษาในปัจจุบัน
สารอาหารทดแทน (Vitamin and mineral supplement)
ปัจจัยหนึ่งของโรคนี้คือ กระบวนการที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อจากอายุที่เพิ่มขึ้น เชื่อว่าสารต้านอนุมูลอิสระน่าจะช่วยลดการเกิดโรคได้ โดยสถาบันจักษุแห่งชาติสหรัฐอเมริกา พบว่า
- การรับประทานสารต้านอนุมูลอิสระ(วิตามินซี วิตามินอี เบต้าแครอทีน ) และเหล็กในปริมาณสูงสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมระยะรุนแรงลงได้ร้อยละ 25 ในคนไข้โรคจอประสาทตาเสื่อมระยะ 3 หรือ 4
- ลดความเสี่ยงของการสูญเสียการมองเห็นจากภาวะจอประสาทตาเสื่อมอย่างรุนแรง ลงได้ร้อยละ 19 ในกลุ่มความเสี่ยงสูง
- มีประโยชน์ในคนที่เริ่มมีจอประสาทตาเสื่อมเล็กน้อย(ระยะที่ 1-2) แต่ไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้
- ขนาดของสารทดแทนที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน คือ วิตามินซี 500 mg วิตามินอี 400 IU เบต้าแครอทีน 15 mg(ประมาณ 25,000 IU) และ Copper 2 mg ของ Copper oxide
- ไม่พบผลข้างเคียงของการใช้สารทดแทนในระหว่างการศึกษา(ระยะเวลาเฉลี่ย 6-3 ปี) แต่ผลข้างเคียงระยะยาว (มากกว่า 10 ปี) ยังไม่ทราบแน่ชัด
- คนที่สูบบุหรี่ ไม่ควรใช้สารทดแทนที่มีเบต้าแครอทีนรวมอยู่ด้วย เพราะพบความสัมพันธ์ของการเกิดมะเร็งปอดในคนสูบบุหรี่ที่รับประทานอาหารที่มีเบต้าแครอทีนประจำ
การรักษาด้วยแสงเลเซอร์
โรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก สามารถรักษาได้โดยใช้แสงเลเซอร์ลงบนจอประสาทตาส่วนที่มีพยาธิสภาพ
- Laser Photocoagulation เป็นการฉายแสงเลเซอร์ ที่ก่อให้เกิดความร้อนขึ้นจนยับยั้งหรือชะลอการลุกลามของเส้นเลือดที่ผิดปกติใต้จอประสาทตา ส่วนของจอประสาทตาที่โดนแสงเลเซอร์จะถูกความร้อนทำลายกลายเป็นแผลเป็น ให้เกิดเป็นจุดมืดดำอย่างถาวรการมองเห็นจะลดลงทันทีหลังการรักษา แต่โดยทั่วไปแล้ว การสูญเสียการมองเห็นจะไม่รุนแรงเท่าการไม่รับการรักษา
- Photodynamic Therapy ฉีดยาที่มีคุณสมบัติเป็น Photosensitizer เข้าทางเส้นเลือด จากนั้นจึงฉายแสงเลเซอร์ที่ไม่ก่อให้เกิดความร้อนไปยังจุดที่จะรักษา ตัวยาจะทำปฏิกิริยากับแสงเลเซอรที่มากพอจะทำลายหลอดเลือดที่ผิดปกติได้ โดยแทบไม่มีผลกระทบต่อจอประสาทตาบริเวณนั้น ให้หลังการรักษาสามารถคงการมองเห็นได้เหมือนก่อนการฉายแสงเลเซอร์ หรืออาจฟื้นขึ้นมาสภาพใกล้เคียงปกติได้์
การผ่าตัด Submacular surgery
เป็นการผ่าตัดน้ำวุ้นตา จอประสาทตา เพื่อทำลายหรือนำเส้นเลือดที่ผิดปกติออกจากใต้จอประสาทตา รวมทั้งแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ของโรค แม้ว่าผลการผ่าตัดจะดีแต่คนไข้ก็จะมีการมองเห็นลดลงหลังการรักษา
ที่มา : www.eye.go.th/amd.html
Trigger Finger
นิ้วล็อค
Trigger Finger – นิ้วล็อค
เกิดจาการใช้มือทำงานในท่ากำมือและแบอย่างแรงซ้ำๆ บ่อยๆ พบบ่อยในคนทำงานที่ต้องใช้มือกับแป้นพิมพ์ เขียนงานเอกสาร แม่บ้าน ผู้ที่เล่นกีฬาประเภทกอลฟ์ หรือเทนนิส และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
ถ้าเป็นตั้งแต่กำเนิด ส่วนมากจะเป็นที่นิ้วโป้ง เด็กจะเหยียดนิ้วโป้งไม่ได้ ถ้าพยายามเหยียดนิ้วจะรู้สึกเจ็บมาก
อาการที่แสดงว่านิ้วล็อก
แบ่งอาการออกตามความรุนแรง ดังนี้
- ระดับที่ 1 นิ้วไม่มีการล็อก แต่จะรู้สึกฝืดเวลาเหยียดหรืองอนิ้วมือในตอนเช้าหรือเวลาอากาศเย็น
- ระดับที่ 2 เวลางอหรือเหยียดนิ้วมือจะมีเสียงดัง แต่ยังเคลื่อนไหวได้ปกติ เริ่มมีอาการปวดที่โคนนิ้ว
- ระดับที่ 3 เวลางอหรือเหยียดนิ้วมือจะมีเสียงดัง และล๊อก ต้องใช้มือด้านตรงข้ามเหยียดออก และจะมีอาการปวด
- ระดับที่ 4 นิ้วมือจะล็อก และม่สามารถเหยียดหรืองอนิ้วได้
การรักษา
การรักษาโดยกายภาพบำบัด
- ยึดกล้ามเนื้อแขน มือ นิ้ว โดยยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น ลง ปลายนิ้วเหยียดตรง ค้างไว้ 10 วินาที แล้วปล่อย ทำ 6- 10 ครั้ง/เซต
- บริหารการกำ-แบมือ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ และกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ หรืออาจกำลูกบอลขนาดเล็กแทนก็ได้ ทา 6-10 ครั้ง/เซต
- ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่ใช้งอ – เหยียดนิ้วมือ โดยใช้ยางยืดช่วยต้าน แล้วใช้นิ้วมือเหยียดอ้าออก ค้างไว้ 10 วินาที แล้วค่อยๆ ปล่อย ทำ 6-10 ครั้ง/เซต
การรักษาโดยการฉีดยา
กรณีที่เป็นในระดับ 1-3 จะทำการฉีดสเตียรอยด์เฉพาะที่จะได้ผลดี และหายกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป ส่วนที่เหลืออาจกลับมาเป็นอีกได้ ในกลุ่มนี้สามมารถฉีดยาสเตียรอยด์ซ้ำได้อีก 2-3 ครั้ง ถ้ายังไม่หายควรผ่าตัด
การรักษาโดยการผ่าตัด
- วิธีที่ 1 กรณีที่ฉีดยาสเตียรอยด์แล้วยังมีอาการนิ้วล็อกอยู่ ต้องทำการผ่าตัด มีการฉีดยาชาก่อนการผ่า และค่าใช้จ่ายสูง
- วิธีที่ 2 การรักษาโดยการเจาะ ( Percutaneous release ) ทำในกรณีที่ฉีดสเตียรอยด์เฉพาะที่แล้วได้ผลดีชั่วระยะหนึ่งแล้วนิ้วยังคงมีอาการล็อกอยู่ โดยมีการใช้เข็มฉีดยาเบอร์ 18 19 หรือ 21 เข้าไปตัดปลายเอ็นที่รัดออก เป็นวิธีที่เร็ว ง่าย และปลอดภัยกว่าการผ่าตัด
ที่มา : นิ้วล็อก.com , www.vichaivejomnoi.com/
Gastroesophageal Reflux Disease
โรคกรดไหลย้อน
Gastroesophageal Reflux Disease – โรคกรดไหลย้อน
สาเหตุหลัก คือ ความผิดปกติในการทำหน้าที่ของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง เช่น มีการคลายตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างโดยที่ไม่มีการกลืน หรือความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างลดลงไม่สามารถต้านแรงดันในช่องท้องและการบีบตัวของกระเพาะอาหารได้
ส่วนสาเหตุที่ทำให้หูรูดดังกล่าวทำงานผิดปกติยังไม่ทราบแน่ชัด หรืออาจมีความผิดปกติที่เป็นตั้งแต่กำเนิด โรคนี้พบได้บ่อยในบุคคลทุกเพศทุกวัย
โรคนี้มีความสัมพันธ์กับความอ้วน โรคเบาหวาน และโรคไส้เลื่อนกะบังลม ซึ่งกระเพาะอาหารบางส่วนเลื่อนเข้าไปอยู่ในช่องอก ทำให้มีโอกาสเกิดการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารมากขึ้น
พฤติกรรมการบริโภค เช่น การรับประทานอาหารรสจัด/เผ็ด อาหารประเภทไขมันสูง อาหารทอด ชา กาแฟ น้ำอัดลม การดื่มสุรา สูบบุหรี่
พฤติกรรมการปฎิบัติตน เช่น การนอนหรือเอนกายทันทีหลังรับประทานอาหาร ความเครียด ตลอดจนการสวนเสื้อผ้าคับและรัดแน่นเกินไป เป็นต้น
การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขยายหลอดลม ยาลดความดันกลุ่มปิดกั้นเบตาและกลุ่มต้านแคลเซียม ยาต้านคอลิเนอร์จิก ตลอดจนฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน เป็นต้น ซึ่งมีผลกระตุ้นการคลายตัวของหูรูดหรือมีการหลั่งกรดมากขึ้น
อาการของโรคกรดไหลย้อน
- แสบอกหรือจุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ คล้ายอาหารไม่ย่อย เรอบ่อย และอาจมีอาการคลื่นไส้
- ภาวะเรอเปรี้ยว คือ มีกรดที่เป็นน้ำรสเปรี้ยวหรือน้ำดีซึ่งมีรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปากหรือคอ หรือหายใจมีกลิ่น
- อาจพบอาการผิดปกติของโรคหู คอ จมูก เช่น ไอเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง หรือหอบหืดเป็นมากขึ้น เป็นต้น เนื่องจากมีกรดไหลย้อนของน้ำย่อยไประคายที่คอหอย กล่องเสียง และหลอดลม
การรักษาโรคกรดไหลย้อน
การรักษาด้วยยา
ปัจจุบันยาที่รักษาได้ผลดีที่สุดคือ ยาลดกรดในกลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊ม เช่น โอเมพราโซลขนาด 20 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันอาการของโรคกรดไหลย้อน โดยให้รับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 6–8 สัปดาห์ หรืออาจต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย
บางกรณีอาจใช้ยาเพิ่มการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น เมโทโคลพราไมด์ขนาด 10 มิลลิกรัม 1 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร 30 นาที
การรักษาด้วยการผ่าตัด
กรณีที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผลหรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น หลอดอาหารอักเสบ เป็นแผลที่หลอดอาหาร หลอดอาหารตีบตัน อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดซ่อมแซมหูรูด
ที่มา : www.pharmacy.mahidol.ac.th
How are you?